วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม


ในการเขียนโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์นี้ โดยทั่วไปแล้วแต่ละภาษาจะ
มีหลักเกณฑ์ หรือขั้นตอน และการออกแบบโปรแกรมเหมือนกัน ซึ่งสามารถจะแบ่ง
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมออกได้เป็น 6 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา
2. ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม
3. ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
4. ขั้นตอนการทดสอบโปรแกรม
5. ขั้นตอนการนําโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมข้อมูลจริง
6. ขั้นตอนการจัดทําเอกสารประกอบโปรแกรม

การวิเคราะห์ปัญหา
ในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนแรกสุดที่นักเขียนโปรแกรม (Programmer) จะต้องลงมือทํ าก่อนที่จะเขียนโปรแกรมจริง ๆ เพื่อทํ าความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นและค้นหาจุดมุ่งหมายหรือสิ่งที่ต้องการ วิเคราะห์ปัญหา เราจะต้องทําความเข้าใจกับปัญหากําหนดให้ได้ว่าปัญหาหรือโจทย์คืออะไร โจทย์ต้องการอะไร ทําอย่างไรจึงจะแก้ปัญหา
นั้นได้ เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ หรือคําตอบที่เราต้องการ เราจะทํ าความเข้าใจเกี่ยวกับ

องค์ประกอบอยู่ 3 องค์ประกอบ ที่จะช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาได้แก่

1. การระบุข้อมูลเข้า(Input Specification) ต้องรู้ว่ามีข้อมูลอะไรที่จะต้องป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมทํ าการประมวลผลและออกผลลัพธ์

2. การระบุข้อมูลออก(Output Specification) จะพิจารณาว่างานที่ทํ ามีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อะไร ต้องหารผลลัพธ์ที่มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร โดยจะต้องคํ านึงถึงผู้ให้เป็นหลักในการออกแบบผลลัพธ์

3. กํ าหนดวิธีการประมวลผล (Process Specification) ต้องรู้วิธีการประมวลผล
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อดูว่าข้อมูลเข้าและออกนั้นคืออะไร โดยทั่วไปจะพิจารณาจากโจทย์ของปัญหาและดูว่ามีคํ าใดที่เป็นคํ านาม(noun) และคุณศัพท์(adjectives) บ้าง ก็จะขีดเส้นใต้คํ าเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงข้อมูลเข้าและออกไปในตัวได้ แต่สํ าหรับวิธีการประมวลผล โดยทั่วไปจะพิจารณาจากคํ ากริยา(verb) หรือข้อมูลเข้า การประมวลผล ผลลัพธ์

คํ าวิเศษณ์(adverb) ที่มีอยู่ในโจทย์นั้นแทน ในบางครั้งเราอาจจะต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเพื่อนํ ามาประกอบในการทํ างาน

ตัวอย่างเช่น โปรแกรมต้องการให้หาพื้นที่วงกลม

ดังนั้น ข้อมูลเข้า รัศมีของวงกลม
ผลลัพธ์ โจทย์ต้องการทราบพื้นที่วงกลม
การประมวลผล พื้นที่วงกลม คํ านวณได้จากสูตร 3.1415 x รัศมี x รัศมี
ดังนั้นเราจะทํ าการรับตัวเลขหนึ่งจํ านวน ซึ่งก็คือ รัศมี แล้วนํ าไปคํ านวณจาก
สูตรจะได้ พื้นที่วงกลม ซึ่งเป็นคํ าตอบที่เราต้องการ
ตัวอย่าง ต้องการสร้างโปรแกรมที่มีการอ่านตัวเลข 3 จํ านวนเข้ามา หาผล
รวมของตัวเลขเหล่านั้นและทํ าการพิมพ์ผลรวมนั้นออกมา
จากการวิเคราะห์ปัญหาจากโจทย์ข้างต้นในเบื้องต้นจะพบว่า
คํ านามประกอบด้วย - ตัวเลข 3 จํ านวน
- ผลรวม
คํ ากริยาประกอบด้วย - อ่านค่าu3605 .ัวเลข 3 จํ านวน
- บวกตัวเลขทั้ง 3 จํ านวน
- พิมพ์ผลรวมออกมา
ดังนั้นเราจะสามารถแจกแจงได้ว่า ข้อมูลสํ าหรับปัญหานี้คือ ตัวเลข 3
จํ านวน ผลลัพธ์ของปัญหาคือ ผลรวม และวิธีการประมวลผลได้แก่ การอ่านค่าตัวเลข
ทั้งสามเข้ามา ทํ าการบวกตัวเลขทั้งสาม และพิมพ์ค่าผลรวมจากการบวกออกมาให้เห็น
ซึ่งจะแสดงเป็นตารางได้ดังนี้
ข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผล มูลออก
ตัวเลขตัวที่ 1 - อ่านตัวเลข 3 จํ านวนเข้ามา ผลรวม
ตัวเลขตัวที่ 2 -บวกตัวเลขทั้งสามเข้าด้วยกัน
ตัวเลขตัวที่ 3 -พิมพ์ผลรวมออกมาให้เห็น
ดังนั้นตอนนี้เราสามารถทํ าการวิเคราะห์ปัญหาและทราบแล้วว่าข้อมูลเข้าที่
จะส่งโปรแกรมมีอะไรบ้างวิธีการประมวลผลทํ าให้ทราบว่าโปรแกรมที่สร้างจะต้อง
ทําหน้าที่อะไรบ้าง และข้อมูลออกหรือผลลัพธ์สุดท้ายที่โปรแกรมจะต้องพิมพ์ออกมาคืออะไร
**ในขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหานี้ โดยทั่วไปจะทํ าให้ทราบว่าจะต้องมีการ
คํ านวณหาผลลัพธ์ว่าคืออะไรเท่านั้น ส่วนวิธีการคํ านวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์นั้นจะทํ าได้
อย่างไร จะอยู่ในขั้นตอนต่อไปคือการออกแบบโปรแกรม

การออกแบบโปรแกรม
หลังจากขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการออกแบบโปรแกรมโอยใช้เครื่องมือมาช่วยในการออกแบบ ขั้นตอนนี้ยังไม่ได้เป็นการเขียนโปรแกรมจริง ๆ แต่จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมทํ าได้ง่านขึ้น โดยสามารถเขียนตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนนี้และยังจะช่วยให้การเขียนโปรแกรมมีข้อผิดพลาด
น้อยลง นอกจากนี้ยังช่วยในการตรวจสอบการทํ างานของโปรแกรม ทํ าให้ทราบขั้นตอนการทํ างานได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องไปไล่ดูจากตัวโปรแกรมจริง ๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบการเขียนโปรแกรมเหมือนกับการสร้างบ้านแล้ว ในขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมนี้ก็จะเปรียบเหมือนกับการสร้างแปลนบ้านลงกระดาษไว้ ซึ่งในการสร้าง
บ้านจริงจะอาศัยแปลนบ้านนี้เป็นต้นแบบในการสร้าง นั่นเองในขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมนี้เป็นการออกแบบการทํ างานของโปรแกรม หรือขั้นตอนในการทํ าปัญหา ซึ่งผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้เครื่องมือมา
ช่วยในการออกแบบได้ โดยมีอยู่หลายตัวตามความถนัดหรือความชอบสํ าหรับเน้อหาในบทนี้จะแนะนํ าให้รู้จักกับเครื่องมือที่ยังใช้ในการออกแบบโปรแกรมคือ
- อัลกอริทึม(Algorithm)
- ผังงาน(Flowchart)
- รหัสจํ าลอง(Pseudo code)
- แผนภูมิโครงสร้าง(Structure chart)

อัลกอริทึม(Algorithm)
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรม โอยใช้ข้อความที่เป็นภาษา
พูดในการอธิบายทํ างานของโปรแกรมที่เป็นลํ าดับขั้นตอน จะข้ามมาไม่ได้นอกจากจะ
ต้องเขียนสั่งได้ต่างหาก เพื่อให้เห็นภาพของอัลกอริทึมจากตัวอย่างของอัลกอริทึมง่าย ๆ
ที่พบเห็นในชีวิตประจํ าวันได้แก่ อัลกอริทึมการสระผม จะต้องเริ่มจากการทํ าผมให้
เปียกเมื่อเปียกแล้วจึงใส่แชมพูสระผมลงบนศรีษะ แล้วขยี้ให้มีฟองเกิดขึ้น หลังจากนั้น
ก็ล้างออกด้วยนํ้ า แล้วเริ่มทํ าใหม่อีกครั้ง เป็นต้น
ในการเขียนอัลกอริทึมนี้แม้จะมีความชัดเจนอยู่แล้ว แต่มีจุดอ่อนอยู่ที่ข้อม
ความอธิบายจะค่อนข้างเยิ่นเย้อและถ้าผู้เขียนใช้สํ านวนที่อ่านยากก็อาจทํ าให้ผู้อ่านไม่
เข้าใจตอนการทํ างานของโปรแกรมได้ ดังนั้นจึงมีการคิดค้นเครื่องมืออื่น ที่ช่วยในการ
ออกแบบโปรแกรมแทนอัลกอริทึม อันได้แก่ ผังงาน รหัสจํ าลอง แผนภูมิโครงสร้าง
ฯลฯ
ผังงาน(Flowchart)
เป็นเครื่องมืออีกแบบหนึ่งที่ใช้รูปภาพ แสดงถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
หรือขั้นตอนในการแก้ปัญหาทีละขั้น และมีเส้นที่แสดงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่
จุดเริ่มต้นจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งจะทํ าให้ผู้อ่านสามารถอ่านและทํ า
ความเข้าใจได้โดยง่าย
รหัสจํ าลอง(Pseudo code)
จะมีการใช้ข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็ได้ ในการแสดงขั้น
ตอนการแก้ปัญหา แต่จะมีการใช้คํ าเฉพาะ(reserve words) ที่มีอยู่ในภาษาโปรแกรมมา
ช่วยในการเขียน โครงของรหัสจํ าลองจึงมีส่วนที่คล้ายกับการเขียนโปรแกรมมาก ดัง
นั้นรหัสจํ าลองจึงเป็นเครื่องมืออีกแบบที่นิยมใช้กันมากในการออกแบบโปรแกรม
แผนภูมิโครงสร้าง(Structure chart)
จะเป็นการแบ่งงานใหญ่ออกเป็นโมดูย่อยๆ ซึ่งเรียกว่า การออกแบบจากบน
ลงล่าง (Top-Down Design) และแต่ละโมดูย่อยก็ยังสามารถแตกออกได้อีกจนถึงระดับ
ที่ล่างสุด ที่สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างง่าย

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
หลังจากที่ผ่านขั้นตอนที่สองคือการออกแบบโปรแกรมแล้ว ขั้นต่อไปคือ
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ในขั้นตอนนี้จะเป็นการนํ าเครื่องมือที่ถูก
สร้างขึ้นจากขั้นตอนการออกแบบมาแปลให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่งใน
การสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น เราสามารถเลือกใช้ภาษาได้หลายภาษา ตั้งแต่ภาษา
ระดับตํ่ า เช่น ภาษาแอสเซมบลี จนถึงภาษาระดับสูง เช่น ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษา
โคบอล(COBOL) ภาษาปาสดาล(PASCAL) ภาษาฟอร์แทรน(FORTRAN) ภาษาซี(C)
ฯลฯ แต่ละภาษาก็จะมีรูปแบบ โครงสร้าง หรือไวยากรณ์ของภาษาที่แตกต่างกันออก
ไป
ดังนั้นการเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น ควรจะต้องทํ าตามขั้นตอนคือเริ่มตั้งแต่
วิเคราะห์ปัญหาให้ได้ก่อน แล้วทํ าการออกแบบโปรแกรมจึงจะเริ่มเขียนโปรแกรม ซึ่ง
ในการเขียนโปรแกรมนั้นสํ าหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์การเขียนโปรแกรมเพียงพอ ก็ควรจะทดลองเขียนลงในกระดาษก่อน แล้วตรวจสอบจนแน่ใจว่าสามารถทํ างานได้แล้วจึงทํ าการป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและทํ าให้สามารถทํ างานได้เร็วขึ้น

การทดสอบโปรแกรม
บางครั้งโปรแกรมอาจผ่านการแปล โดยไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ แจ้งออกมา แต่
เมื่อนํ าโปรแกรมนั้นไปใช้งานปรากฏว่าได้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นจริง เนื่องจากอาจเกิดข้อผิด
พลาดแบบ Logicl Error ขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรจะต้องมีขั้นตอนการทดสอบความถูก
ต้องของโปรแกรมอีกทีด้วย
ในการทดสอบความถูกต้องของข้อมูลจะมีอยู่หลายวิธีดังต่อไปนี้
1. การใส่ข้อมูลที่ถูกต้อง(valid case)
เป็นการทดสอบโดยเมื่อมีการรันโปรแกรม ให้ทํ าการใส่ข้อมูลที่ถูกต้องลงไป
ในโปรแกรม และดูว่าผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรมถูกต้องตามความเป็นจริงหรือตรงกับที่ต้องการหรือไม่
2. การใช้ของเขตและความถูกต้องของข้อมูล(Range check and Completeness
check)
เป็นการทดสอบโดยตรวจสอบขอบเขตของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่โปรแกรม เช่น
ถ้าโปรแกรมให้มีการป้อนวันที่ ก็จะต้องตรวจสอบว่าวันที่ที่ป้อนจะไม่เกินวันที่ 31 ถ้าผู้
ใช้ป้อนวันที่ที่เป็นเลข 32 โปรแกรมจะต้องไม่ยอมให้ป้อนวันที่นี้ได้ หรือ การตรวจ
สอบความสมบูรณ์ของข้อมูล เช่น การรับข้อมูลที่เป็นวัน/เดือน/ปี ก็จะต้องใส่เป็นตัว
เลข 6 ตัวในลักษณะ dd/mm/yy ถ้าใส่น้อยกว่า 6 ตัวจะไม่รับเป็นต้น
3. การใช้ความสมเหตุสมผล (Consistency Check)
ตัวอย่างเช่น ถ้าโปรแกรมมีการออกแบบให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลลงไปในฟอร์ม
(Form) ที่มีฟิลด์ข้อมูลที่เป็นเพศ (หญิง หรือ ชาย) และรายละเอียดส่วนตัวของคนๆ
นั้น
เพศ วันลาคลอด
ชาย ต้องไม่มี(ห้ามใส่)
หญิง อาจมีหรือไม่มีก็ได้
4. ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร (Correct No. and Type character check)
เป็นการตรวจสอบว่าถ้าโปรแกรมให้ผู้ป้อนข้อมูลในฟิลด์ที่ต้องรับข้อมูลที่เป็น
ตัวเลขอย่างเช่น ฟิลด์ที่เป็นจํ านวนเงิน ก็ควรจะยอมให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลได้เฉพาะตัวเลข
เท่านั้น ไม่อนุญาติให้ใส่ตัวอักษรในฟิลด์นั้นได้ หรือถ้าเป็นฟิลด์ที่รับข้อมูลที่เป็นตัว
อักษรเช่น ฟิลด์ชื่อ-นามสกุล ก็จะป้อนได้เฉพาะตัวอักษรเท่านั้น จะป้อนตัวเลขไม่ได้
เป็นต้น
5. ข้อมูลเป็นไปตามข้อกําหนด (Existence Check)
ข้อมูลที่ป้อนในฟิลด์ต้องเป็นไปตามที่กํ าหนดไว้แน่นอนแล้วเท่านั้น เช่น
กํ าหนดให้ฟิลด์นี้ป้อนขอมูลได้เฉพาะตัวเลขที่อยู่ในกลุ่ม 1,2,5,7 ได้เท่านั้น จะป้อนเป็น
ตัวเลขอื่นที่ไม่อยู่ในกลุ่มนี้ไม่ได้
การนํ าโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมข้อมูลจริง
ขั้นตอนต่อมาหลังจากที่ได้ทํ าการทดสอบโปรแกรมจนมีความมั่นใจว่า
โปรแกรมสามารถทํ างานได้จริงและตรงกับควมต้องการของผู้ใช้โปรแกรม จากนั้นเรา
จึงทํ าการนํ าโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมข้อมูลจริง ในขั้นตอนนี้จะเป็นการ
นํ าข้อมูลที่แท้จริง มาป้อนให้กับโปรแกรมเพื่อทํ างานและนํ าผลลัพธ์ไปใช้ประโยชน์ต่อไป

สรุปในขั้นตอนการนําโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมข้อมูลจริง
1. ก่อนนํ าโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ควรทํ าการศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่
จะนํ าโปรแกรมเข้าเครื่อง
2. เตรียมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ให้พร้อม
3. ลงโปรแกรมหรือนํ าโปรแกรมที่ทํ าเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
4. เริ่มใช้โปรแกรมในระบบโปรแกรมที่ทํ า
5. จัดทํ าคู่มือการใช้งาน
บอกชนิดการจัดทํ าเอกสาร
หมายถึง เอกสารต่างๆที่ใช้กํ ากับอธิบายโปรแกรมและช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรม
ทํ างานได้สะดวกขึ้น เช่น คู่มือปฏิบัติงานเครื่อง (Operation Manual) คู่มือผู้ใช้ (User
manual) ปัจจุบันเอกสารประกอบโปรแกรม มีอยู่ในหลายสื่อ เช่น มีอยู่ในซอฟต์แวร์
ได้แก่ คํ าอธิบาย (Help function) โปรแกรมสาธิต (Demo program) เป็นต้น
การทํ าเอกสารประกอบโปรแกรม คือการอธิบายรายละเอียดของโปรแกรม
ว่า จุดประสงค์ของโปรแกรมคืออะไร สามรรถทํ าอะไรได้บ้าง และมีขั้นตอนการทํ างาน
ของโปรแกรมเป็นอย่างไร ฯลฯ เครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรม เช่น ผังงาน
หรือรหัสจํ าลอง ก็สามารถนํ ามาประกอบกันเป็นเอกสารประกอบโปรแกรมได้
โปรแกรมเมอร์ที่ดีควรจะมีการทํ าเอกสารประกอบโปรแกรมทุกขั้นตอนของ
การพัฒนาโปรแกรมไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการออกแบบ การเขียนโปรแกรม หรือขั้นตอน
การทดสอบโปรแกรม ซึ่งการทํ าเอกสารนี้จะมีประโยชน์อย่างมากต่อหน่วยงาน เนื่อง
จากบางครั้งอาจต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมที่ได้มีการทํ าเสร็จไปนานแล้ว เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนไป จะทํ าให้เข้าใจโปรแกรมได้ง่ายขึ้นและจะเป็นการสะดวกต่อผู้ที่ต้องเข้ามารับช่วงงานต่อทีหลัง
เอกสารประกอบโปรแกรมโดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ
1. เอกสารประกอบโปรแกรมสํ าหรับผู้ใช้ (User Documentation)
จะเหมาะสํ าหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม แต่เป็นผู้ที่
ใช้งานโปรแกรมอย่างเดียว จะเน้นการอธิบายเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมเป็นหลัก ตัว
อย่างเช่น
- โปรแกรมนี้ทํ าอะไร ใช้งานในด้านไหน
- ข้อมูลเข้ามีลักษณะอย่างไร
- ข้อมูลออกหรือผลลัพธ์มีลักษณะอย่างไร
- การเรียกใช้โปรแกรมทํ าอย่างไร
- คํ าสั่ง หรือข้อมูล ที่จํ าเป็นให้โปรแกรมเริ่มงานมีอะไรบ้าง
- อธิบายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความสามารถของโปรแกรม
2. เอกสารประกอบโปรแกรมสํ าหรับผู้เขียนโปรแกรม (Technical Documentation)
จะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน
- ส่วนที่เป็นคํ าอธิบายหรือหมายเหตุในโปรแกรมหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
คอมเมนท์ (Comment) ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเขียนแทรกอยู่ในโปรแกรม
อธิบายการทํ างานของโปรแกรมเป็นส่วน ๆ
- ส่วนอธิบายด้านเทคนิค ซึ่งส่วนนี้มักจะทํ าเป็นเอกสารแยกต่างหากจาก
โปรแกรม จะอธิบายในรายละเอียดที่มากขึ้น เช่น ชื่อโปรแกรมย่อยต่างๆ
มีอะไรบ้าง แต่ละโปรแกรมย่อยทํ าหน้าที่u3629 .ะไร และคํ าอธิบายย่อๆ เกี่ยวกับ
วัตถุประสงค์ของโปรแกรม เป็นต้น
เครื่องมือออกแบบโปรแกรม
ในขั้นตอนการเขียนโปรแกรมผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้เครื่องมื่อมาช่วยในการ
ออกแบบโปรแกรมได้ โดยมีอยู่หลายตัวตามความถนัดหรือความชอบสํ าหรับเนื้อหาใน
บทนี้จะแนะนํ าให้รู้จักกับเครื่องมือที่ยังเป็นที่นิยมใช้ในการออกแบบโปรแกรมคือ
อัลกอริทึม (Algorithm )
ผังงาน (Flowchart)
รหัสจํ าลอง (Pseudo code)
แผนภูมิโครงสร้าง (Flowchart)
อัลกอริทึม (Algorithm )
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรม โอยใช้ข้อความที่เป็นภาษา
พูดในการอธิบายทํ างานของโปรแกรมที่เป็นลํ าดับขั้นตอน จะข้ามมาไม่ได้นอกจากจะ
ต้องเขียนสั่งได้ต่างหาก เพื่อให้เห็นภาพของอัลกอริทึมจากตัวอย่างของอัลกอริทึมง่าย ๆ
ที่พบเห็นในชีวิตประจํ าวันได้แก่ อัลกอริทึมการสระผม จะต้องเริ่มจากการทํ าผมให้
เปียกเมื่อเปียกแล้วจึงใส่แชมพูสระผมลงบนศรีษะ แล้วขยี้ให้มีฟองเกิดขึ้น หลังจากนั้น
ก็ล้างออกด้วยนํ้ า แล้วเริ่มทํ าใหม่อีกครั้ง เป็นต้น
ในการเขียนอัลกอริทึมนี้แม้จะมีความชัดเจนอยู่แล้ว แต่มีจุดอ่อนอยู่ที่ข้อม
ความอธิบายจะค่อนข้างเยิ่นเย้อและถ้าผู้เขียนใช้สํ านวนที่อ่านยากก็อาจทํ าให้ผู้อ่านไม่
เข้าใจตอนการทํ างานของโปรแกรมได้ ดังนั้นจึงมีการคิดค้นเครื่องมืออื่น ที่ช่วยในการ
ออกแบบโปรแกรมแทนอัลกอริทึม อันได้แก่ ผังงาน รหัสจํ าลอง แผนภูมิโครงสร้าง
ฯลฯ
การเขียนขั้นตอนวิธี เป็นการเขียนเพื่ออธิบายการทํ างาน มีลักษณะเป็นขั้น
เป็นตอน มีลํ าดับการทํ างานที่ชัดเจน เป็นคํ าอธิบายเชิงบรรยาย
ตัวอย่าง การเขียนขั้นตอนวิธี
1) การลงทะเบียนล่วงหน้า
1. รับใบลงทะเบียนล่วงหน้าจาก อาจารย์ที่ปรึกษา และรับคํ าชี้ แจง
2. กรอกรายละเอียดต่าง ๆ
3. อาจารย์ที่ปรึกษาลงลายมือชื่อ
4. ยื่นเอกสารลงทะเบียนที่ธนาคาร เพื่อชํ าระเงิน
5. ยื่นเอกสารและใบเสร็จ ที่สํ านักทะเบียน
2) การคํ านวณหาพื้นที่วงกลม
รับค่ารัศมีของวงกลม
คํ านวณหา พื้นที่วงกลมจากสูตร
พื้นที่วงกลม = 3.1415 x รัศมี x รัศมี
แสดงค่า พื้นที่วงกลม
3) นับจํ านวนชื่อที่ตรงกับชื่อที่มีอยู่ในรายการ
1. กํ าหนดให้ตัวนับมีค่าเป็นศูนย์
2. รับชื่อที่ต้องการนับ
3. ทํ าซํ้ างานต่อไปนี้ จนหมดรายการ
4. อ่านชื่อจากรายการถ้าชื่อที่รับมาตรงกับชื่อในรายการ ให้เพิ่มตัว
นับอีก 1
5. แสดงจํ านวน ตัวนับ
จะเห็นว่าการเขียนขั้นตอนวิธี เป็นการเขียนเชิงบรรยาย ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่
นอน หากผู้เขียนใช้คํ าอธิบายที่ไม่ชัดเจน คลุมเครือ อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ทํ าให้
ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ ถูกต้อง ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ก็ได้
ผังงาน (Flowchart)
เป็นเครื่องมืออีกแบบหนึ่งที่ใช้รูปภาพ แสดงถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
หรือขั้นตอนในการแก้ปัญหาทีละขั้น และมีเส้นที่แสดงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่
จุดเริ่มต้นจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งจะทํ าให้ผู้อ่านสามารถอ่านและทํ า
ความเข้าใจได้โดยง่าย
ผังงานแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ผังงานระบบ (System flowchart)
2. ผังงานของโปรแกรม (Program flowchart)
ประโยชน์ของผังงาน
- ช่วยลํ าดับขั้นตอนการทํ างานของโปรแกรม และสามารถนํ าไปเขียนโปรแกรม
ได้โดยไม่สับสน
- ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
- ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทํ าได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทํ างานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็ว
มากขึ้น
สัญลักษณ์
ผังงาน
การเขียนผังงาน ( Flowchart )
ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการ
ทํ างานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการหรือการแสดงขั้นตอนหรือรายละเอียดของการ
ทํางานในรูปของสัญลักษณ์ การเขียนผังงานจะช่วยให้การวิเคราะห์ระบบทํ าได้ง่ายขึ้น ผังงานจะเริ่มจากการนํ าเข้าข้อมูล การระบุอุปกรณ์ที่ใช้ การอธิบายขั้นตอนการประมวลผลโดยใช้สัญลักษณ์แต่ละข้อความเพื่อแสดงขั้นตอนการทํ างานของโปรแกรม สามารถ
แบ่งการทํ างานของผังงานได้เป็น 2 แบบ คือ
1. ผังงานระบบ (System flowchart)
2. ผังงานโปรแกรม (Program flowchart)
ประโยชน์ของผังงาน
- ช่วยลํ าดับขั้นตอนการทํ างานของโปรแกรม และสามารถนํ าไปเขียนโปรแกรม
ได้โดยไม่สับสน
- ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
- ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทํ าได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทํ างานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็ว
มากขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น